กระต่าย-สายพันธุ์พันธุ์อเมริกัน ฟัซซี่ ลอป



ต้นกำเนิดของอเมริกันฟัซซี่ลอปมาจากการผ่าเหล่าของฮอลแลนด์ลอป หรืออีกกระแสหนึ่งเล่าว่า กระต่ายสายพันธุ์นี้เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างฮอลแลนด์ลอปที่ลักษณะขนเป็นแบบอังโกร่าในกลุ่มนักพัฒนาสายพันธุ์กระต่ายทางฝากตะวันตกของสหรัฐอเมริกา จากนั้นก็ถูกขายไปยังฝั่งตะวันออก ลูกที่เกิดมาก็ยังมีขนที่ยาวเหมือนอังโกร่า เมื่อผสมลูกเหล่านี้ รุ่นหลานก็ยังปรากฏเป็นกระต่ายหูตกขนยาวอยู่ตลอดมา สายพันธุ์อเมริกันฟัซซี่ลอปถูกเสนอให้มีการยอมรับสายพันธุ์ต่อสมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่ายของสหรัฐอเมริกา ในงานประกวดกระต่ายสวยงาม ณ เมดิสัน รัฐวิสเคาส์ซิน ในปี ค.ศ. 1988 หรือ พ.ศ. 2531 โดยเพตตี้กรีน คาร์ล

กระต่ายพันธุ์อเมริกันฟัซซี่ลอป (American Fuzzy Lop) เป็นกระต่ายขนาดเล็ก (Compact Type) จัดอยู่ในกลุ่มกระต่ายแคระ มีลักษณะเด่นคือ มีหูตกสวยงามและมีขนที่ยาวสลวย ลักษณะเด่นอื่นๆของสายพันธุ์กระต่ายหูตกอเมริกันฟัซซี่ลอป ก็คือ มีลำตัวสั้น กะทัดรัด หัวมีลักษณะกลม ขนาดใหญ่หนาและกว้างจากฐานของหูทั้งสองข้าง หูที่หนา และแบน หูยิ่งสั้นยิ่งถือว่ามีลักษณะที่ดี เพราะว่าเป็นการแสดงถึงลักษณะของกระต่ายแคระ หูจะต้องตกแนบข้างแก้ม หัวโตใหญ่ ต่อติดกับหัวไหล่ เหมือนไม่มีคอ หัวและหูปกคลุมด้วยขนธรรมดา ที่ไม่ใช่ขนยาว ขนที่หน้าสามารถตัดแต่งได้ตามความเหมาะสมและสวยงาม ขาหลังมีขนธรรมดา ฝ่าเท้าหนาและหนัก ขนที่ตัวหนาแน่นเสมอกันตลอดทั้งตัว ขนควรมีลักษณะค่อนข้างหยาบและมีความยาวไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว

เนื่องจากกระต่ายสายพันธุ์นี้มีน้ำหนักและลำตัวยาวไม่มากเหมือนกระต่ายทั่วไป จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงอยู่ในขณะนี้ การที่มีขนาดลำตัวที่สั้น ไหล่ที่กว้างหนา และมีความสูงสมดุลกันทั้งตัว ทำให้ดูเหมือนเป็นก้อนฟูฟูกลมๆก้อนหนึ่ง เนื่องจากขนที่มีสองลักษณะคือ ขนชั้นในที่นุ่มฟูและมีขนาดสั้นกว่า ขนชั้นนอกที่มีความยาวและแลดูหยาบกว่าขนชั้นใน ทำให้ดูเหมือนอเมริกันฟัซซี่ลอปมีขนาดที่ใหญ่เกินกว่าความเป็นจริง ในเพศผู้ จะมีขนาดลำตัวและหัวที่ใหญ่กว่า กล้ามเนื้อเด่นชัด ในเพศเมียจะแสดงออกถึงลักษณะของเพศเมียมากกว่า แต่ทั้งคู่ก็จะแสดงถึงลักษณะของสายพันธุ์ที่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ เมื่อเติบโตเต็มที่แล้ว

น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ในอุดมคติคือ 1.6 กิโลกรัม (สำหรับตัวผู้) และ 1.7 กิโลกรัม (ในตัวเมีย)
น้ำหนักมากที่สุดที่สามารถจดทะเบียนได้ 1.8 กิโลกรัม



สัดส่วนและขนาด
• น้ำหนักในเพศผู้ (พ่อพันธุ์) อายุตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป ไม่เกิน 4 ปอนด์ (1.8 กิโลกรัม) โดยมีน้ำหนักในอุดมคติคือ ไม่เกิน 3 ? ปอนด์ (1.6 กิโลกรัม)
• น้ำหนักในเพศเมีย (แม่พันธุ์) อายุตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป ไม่เกิน 4 ปอนด์ (1.8 กิโลกรัม) โดยมีน้ำหนักในอุดมคติคือ ไม่เกิน 3 ? ปอนด์ (1.7 กิโลกรัม)
• น้ำหนักกระต่ายรุ่น อายุไม่เกินหกเดือน น้ำหนักต้องไม่เกิน 3 ? ปอนด์ (1.6 กิโลกรัม) โดยมีน้ำหนักที่น้อยที่สุดสำหรับประกวด ไม่น้อยกว่า 1 ? ปอนด์ (8 ขีด)

ศีรษะ
มองจากหน้าตรง หัวมีความกว้าง หน้าผากโหนกลงมาถึงระหว่างตาทั้งสองข้าง ทำให้แลดูหัวเต็ม มองจากด้านข้าง หัวจะสั้นและหนา หัวกลม หน้าตัด หัวใหญ่ สังเกตเห็นได้ชัดเจน ขนาดของหัวต้องสัมพันธ์กันกับลำตัว ขนข้างแก้มสามารถตัดแต่งได้เพื่อความสวยงาม

ลักษณะที่ไม่เป็นที่พิจารณา หน้ายาว หัวแคบเล็ก ระหว่างตาแคบ หัวเล็กไม่สัมพันธ์กับลำตัว ขนข้างแก้มถูกตัดมากเกินไป



สีตามมาตรฐานที่สมาคมพัฒนาพันธุ์กระต่ายแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ ARBA กำหนดให้มีการประกวดในกระต่ายสายพันธุ์อเมริกันฟัซซี่ลอป มีกลุ่มสีถึง 6 กลุ่มสี ได้แก่ กลุ่มสีพื้น (Self Group) กลุ่มสีขนอะกูติ (Agouti Group) กลุ่มสีเฉด (Shaded Group) กลุ่มสีขาวมีแปดแต้ม (Pointed White Group) กลุ่มขาวลายแต้มสีต่างๆ (Broken Group) และกลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band Group)

กลุ่มสีพื้น (Self Group) คือกลุ่มสีขนที่มีสีขนสีเดียวเหมือนกันตลอดทั้งตัว ประกอบด้วย 6 สี ได้แก่
• สีดำ
• สีบลู (Blue)-เป็นสีเทาเข้ม (สีเรือรบ) เหมือนสีของแมวสีสวาด
• สีขาวตาฟ้า (Blue Eyed White)
• สีช็อกโกแล็ต
• สีไลแลค (Lilac) และ
• ขาวตาทับทิม (Ruby Eyed White)

กลุ่มสีขนอะกูติ (Agouti Group) คือกลุ่มสีขนที่มีสีขนมากกว่าหนึ่งสีในขนเส้นเดียวกัน ประกอบด้วย 5 สี ได้แก่
• สีเชสนัท (Chestnut)-เป็นสีน้ำตาลเชสนัท แซมดำที่ปลายขนเหมือนสีกระต่ายป่า
• สีชินชิลล่า (Chinchilla)-เป็นสีเทาแซมดำที่ปลายขนเหมือนสีตัวชินชิลล่า
• สีลิงซ์ (Lynx)-เป็นสีส้มแซมสีเทาเงิน
• สีโอปอล (Opal)-เป็นสีฟางข้าว ขนชั้นในเป็นสีบลู
• สีกระรอก (Squirrel)-เป็นสีเทา แซมบลู หรือเทาเข้มที่ปลายขน เหมือนสีของกระรอก

กลุ่มสีเฉด (Shaded Group) คือกลุ่มสีขนที่มีความเข้มของสีเดียวกันในแต่ละตำแหน่งของตัวไม่เท่ากัน ตำแหน่งที่มีความเข้มของสีแตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ จมูกและขาทั้งสี่ จะมีสีที่เข้มกว่า ส่วนอื่นๆของตัว ประกอบด้วย 4 สี ได้แก่
• สีซาเบิล (Siamese Sable)-เป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม เหมือนสีของสุนัขไทยสีทองแดง
• สีเทาควันบุหรี่ (Siamese Smoke Pearl)-เป็นสีเทาควันบุหรี่
• สีซาเบิ้ลพอยท์ (Sable Point)-เป็นสีครีมทั้งตัว มีแต้มสีน้ำตาลเข้ม เหมือนสีของแมววิเชียรมาศ
• สีกระ (Tortoise Shell)-เป็นสีกระ เหมือนสีของกระดองเต่ากระ พื้นขนออกสีน้ำตาล แต่มีแต้มที่จมูกและขาเป็นสีน้ำตาลที่เข้มกว่า

กลุ่มสีขาวมีแปดแต้ม (Pointed White Group) คือกลุ่มที่มีสีขนพื้นลำตัวเป็นสีขาว แต่มีแต้มที่ จมูก หูทั้งสอง ขาทั้งสี่ และหาง โดยจะต้องมีสีตามที่กำหนดไว้คือ สีดำ สีบลู สีช็อกโกแล็ต สีไลแลค (Lilac) และที่สำคัญคือ จะต้องมีตาสีทับทิม

กลุ่มขาวลายแต้มสีต่างๆ (Broken Group) คือกลุ่มที่มีสีขนพื้นลำตัวเป็นสีขาว และมีแต้ม หรือลายจุด กระจัดกระจายทั่วไปตามลำตัว แต่ต้องมีแต้มบังคับที่ ข้างจมูกและขอบตา ทั้งสองข้าง และต้องมีสีแต้มไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของลำตัวทั้งหมด

กลุ่มสีอื่นๆ (Wide Band Group) คือกลุ่มสีที่ไม่สามารถจัดให้เข้าอยู่กับกลุ่มสีอื่นๆ ข้างต้นได้ เป็นกลุ่มสีที่มีลักษณะเฉพาะตัว มี 2 สี ได้แก่ สีส้ม (Orange) สีฟางข้าว (Fawn)


Cardit:http://www.thairabbitclub.com/

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 comments:

Post a Comment

My Blog List

Labels

กระต่าย - กระต่ายท้องอืด กระต่าย - จะผสมกระต่ายเมื่ออายุเท่าไหร่ กระต่าย-ดูแลกระต่ายท้อง กระต่าย-สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ กระต่าย-สายพันธุ์พันธุ์อเมริกัน ฟัซซี่ ลอป กระต่าย-สายพันธุ์พันธุ์ฮอลแลนด์ ลอป การดูเพศกระต่าย ชูการ์ ไกลเดอร์ (sugar glider) ชูการ์ ไกลเดอร์ (sugar glider) - สายพัพธุ์ ชูการ์ไกลเดอร์ พันธุ์กระต่าย แมว - 4 สายพันธุ์แมวไทยที่เหลืออยู่ แมว - โรคช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว หรือเรียกสั้นๆ FIP แมว-โรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมว แมว-โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา แมว-โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ แมว-โรคเอดส์แมว รวมโรคน้องกระต่าย หนูแก๊สบี้-พืชที่เป็นอันตรายกับหนูแก๊สบี้ หนูแก๊สบี้-โรคคอเอียง หนูแก๊สบี้-สายพันธุ์หนูแก๊สบี้