แมว-โรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมว




โรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมว 

 หรือที่เรียกว่า โรคหวัดแมว (cat flu) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมว พบได้บ่อยโดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งเป็นไวรัสจำเพาะในแมว ได้แก่ Feline Viral Rhinotracheitis Virus (FVRC) หรือ Feline Herpevirus (FHV) และ Feline Calici Virus (FCV) ซึ่งสามารถพบการติดเชื้อร่วมกันได้ นอกจากนี้อาจมีอาการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ร่วมด้วยได้ เช่น Bordetella หรือ Chlamydia สำหรับเชื้อ Chlamydia ที่ติดร่วมนั้นจะทำให้แมวมีอาการตาอักเสบ เยื่อบุตาบวมอักเสบ มีขี้ตาเขียว เป็นต้น 
       
        การติดเชื้อไวรัส Feline Herpevirus (FHV) จะพบได้บ่อยในกลุ่มแมวที่ไม่เคยได้รับการทำวัคซีน อัตราการเกิดโรคอาจสูงถึง100 % แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วอัตราการตายจะไม่สูงมาก แต่ว่ามีโอกาสที่จะสูงถึง 30 % ได้ในลูกแมวและแมวที่มีอาการเครียดหรือมีโรคอื่นแทรกซ้อน อาการที่พบหลังจากที่แมวได้รับเชื้อ FHV คือเชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 2 - 10 วัน โดยจะทำให้แมวมีอาการอักเสบที่ตา จมูก หลอดลมซึ่งทำให้อาการตาอักเสบ มีน้ำมูกและเสมหะ นอกจากนี้ยังทำให้แมวมีอาการซึม หายใจลำบาก เป็นไข้ ไอ จามและเบื่ออาหาร
       
        ในกรณีที่มีเชื้อแบคทีเรีย ร่วมด้วยนั้น จะทำให้น้ำมูกข้นเหนียวจนเป็นหนอง อาจพบแผลหลุมเป็นวงๆ บนลิ้น ทำให้แมวเจ็บมากจนไม่อยากกินอาหาร อาการอาจรุนแรงมากถึงขั้นเกิดปอดติดเชื้อและเยื่อหุ้มปอดอักเสบซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนการติดเชื้อ Feline Calici Virus (FCV) ไวรัสชนิดนี้ทำให้เกิดอาการน้ำมูกไหล ไอ จาม แต่อาจแสดงอาการรุนแรงมากกว่านั้นได้ สำหรับอาการที่เด่นชัดที่สุดคือ แผลหลุมบนลิ้น ช่องปากอักเสบ แผลในช่องปากจะทำให้แมวกินอาหารลำบาก ความอยากอาหารลดลง ทำให้อาการทรุดลงเร็ว การติดต่อของโรค เกิดจากแมวได้รับเชื้อไวรัสที่มีการแพร่กระจายในอากาศจากแมวที่ป่วยผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ หรือมีการสัมผัสกับแมวที่ติดเชื้อโดยตรง พบได้บ่อยในบริเวณที่มีแมวอยู่รวมกันอย่างแออัดหรือกลุ่มแมวจร 
       
        ส่วนในกรณีที่แมวป่วยและหายจากโรคแล้วนั้นยังสามารถเป็นพาหะนำโรคต่อไปได้ การรักษานั้นจะรักษาแบบตามอาการและพยุงอาการ ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากแบคทีเรีย รวมทั้งยาลดเสมหะ ลดน้ำมูก ยาเสริมภูมิคุ้มกัน ในแมวบางตัวอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำ วิตามินต่างๆ เพื่อบำรุงตามความเหมาะสม การเสริมอาหารอย่างเพียงพอ อาจจำเป็นต้องมีการป้อนอาหารและยาให้ นอกจากนี้ยังต้องดูแลเรื่องความสะอาดด้วย และควรให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง คือ การนำแมวที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคไปปะปนกับแมวภายนอก และควรป้องกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเป็นประจำทุกปี


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 comments:

Post a Comment

My Blog List

Labels

กระต่าย - กระต่ายท้องอืด กระต่าย - จะผสมกระต่ายเมื่ออายุเท่าไหร่ กระต่าย-ดูแลกระต่ายท้อง กระต่าย-สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ กระต่าย-สายพันธุ์พันธุ์อเมริกัน ฟัซซี่ ลอป กระต่าย-สายพันธุ์พันธุ์ฮอลแลนด์ ลอป การดูเพศกระต่าย ชูการ์ ไกลเดอร์ (sugar glider) ชูการ์ ไกลเดอร์ (sugar glider) - สายพัพธุ์ ชูการ์ไกลเดอร์ พันธุ์กระต่าย แมว - 4 สายพันธุ์แมวไทยที่เหลืออยู่ แมว - โรคช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว หรือเรียกสั้นๆ FIP แมว-โรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมว แมว-โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา แมว-โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ แมว-โรคเอดส์แมว รวมโรคน้องกระต่าย หนูแก๊สบี้-พืชที่เป็นอันตรายกับหนูแก๊สบี้ หนูแก๊สบี้-โรคคอเอียง หนูแก๊สบี้-สายพันธุ์หนูแก๊สบี้