กระต่าย-จะผสมกระต่ายเมื่ออายุเท่าไหร่



 จะผสมกระต่ายเมื่ออายุเท่าไหร่ดี?

     โดยทั่วไปแล้ว ระบบต่าง ๆ ของกระต่ายจะมีพัฒนาการครบถ้วนสมบูรณ์ตอนที่อายุประมาณ 3 เดือน  นั่นหมายถึงว่าระบบสืบพันธุ์ของกระต่ายก็พร้อมในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน กระต่ายที่แตกเนื้อหนุ่ม ก็จะเริ่มสบัดฉี่ ส่งสัญญาณประกาศอาณาเขตและใช้เป็นกลิ่นเรียกหาสาว ๆ ส่วนที่แตกเนื้อสาว ก็จะมีอาการ Heat เที่ยววิ่งไล่ชาวบ้าน ดม ๆ เลีย ๆ แล้วก็ปีนขึ้นกระดื๊บ ๆ เพื่อน ๆ
     กระต่ายที่เริ่มแตกเนื้อสาว ก็เหมือนเด็กสาว ม.ต้น คอซอง แม้จะมี “อะไร ๆ” ที่พร้อมรับการมีเพศสัมพันธ์ แต่ก็ไม่ใช่วัยที่ควรจะเป็น แม่พันธุ์ ขืนมีลูกตอนนี้ ลูกก็ไม่ค่อยสมบูรณ์นัก และโอกาสที่จะเลี้ยงลูกไม่เป็น ก็สูงมาก
     เราจึงควรปล่อยให้กระต่ายสาวของเราเติบโตขึ้นอีกหน่อย จากสาวรุ่นวัยขบเผาะ 3 เดือนนี้ กระต่ายจะผลัดขน ยืดตัว ช่วงนี้อาจจะดูไม่น่ารักน่าอุ้มเหมือนตอน 2-3 เดือน พออายุได้ 5 เดือน ขนใหม่เต็มตัว รูปร่างก็จะเข้าฟอร์ม กระต่ายจะสวยดูเป็นสาวสะพรั่ง ถ้าเป็น ND นี่ ก็ถือว่าพร้อมจะเป็นคุณแม่แล้ว แต่ถ้าเป็น HL ก็น่าจะรอให้ 6 เดือนก่อน
สำหรับผม จะรอให้คุณเธอ Mature กว่านี้อีกหน่อย คือ ND นี่กำหนดที่ 6 เดือน และ HL จะรอจน 7 เดือนขึ้นไปครับ

เรื่่่องควรรู้เกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ของกระต่าย

          กระต่ายมีระบบการสืบพันธุ์ต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่ว ๆไป มากนะครับ คือกระต่ายเพศเมียไม่มีรอบเดือน (Menstruation) เพราะกระต่ายไม่มีช่วงวงรอบของการตกไข่ที่แน่นอน แต่กระต่ายมีช่วงที่มีความต้องการทางเพศ (Heat period) เป็นช่วง ๆ ช่วงละประมาณ 14-16 วัน เว้นวรรคประมาณ 4-7 วัน แล้วก็ Heat อีก สลับกันไปเรื่อย ๆ
          พูดง่าย ๆ ว่า กระต่ายตัวเมีย พร้อมจะรับการผสมพันธุ์เกือบตลอดเวลา เดือนหนึ่งเว้นแค่ อาทิตย์เดียวเอง
ส่งตัว(สาว) เข้าหอ (หนุ่ม)
          เมื่อเราต้องการผสมพันธุ์กระต่าย ก็ต้องดูว่าเขาอายุเหมาะสมไหม มีร่างกายสมบูรณ์ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน และอยู่ในช่วงที่พร้อมรับการผสม ถ้าได้ครบองค์ประกอบนี้ โอกาสที่จะ ผสมติดก็มีสูงครับ
          ถ้ากะการแล้วว่า ทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวน่าที่จะพร้อมในการเสพสม ก็ให้นำพากระต่ายสาวซึ่งอยู่ในช่วงที่พร้อมรับการผสมพันธุ์ ไปใส่กรงตัวผู้ ก็จะพบว่าหลังจากการเล่นไล่จับกัน นิดหน่อยพอเป็นพิธี เจ้าหล่อนก็จะยอมให้พระเอกขึ้นทับ และกระดกก้นขึ้นยอมรับการผสมแต่โดยดี ขบวนการปั่มป๊มนี้ ใช้เวลา นับหนึ่งไม่ถึงสิบ ก็เสร็จการ ตัวผู้จะตกจากหลังตัวเมีย ตกจริง ๆ ครับ ตัวเกร็งขากาง ร่วงลงพื้นดังตุ้บเลย บางทีมีการร้องแอ๊ดๆๆๆ ด้วยความสะใจด้วย (ห้ามเอาตัวผู้มาใส่กรงตัวเมีย เพราะตัวผู้จะผิดที่ อาจเกิดอาการ “ฝ่อ” และตัวเมียซึ่งเป็นเจ้าของถิ่นอาจจะกัดเอา)
          ถ้าหากเจ้าหล่อน ไม่มีอารมณ์ แต่ถูกไล่จับจนเหนื่อย ก็จะใช้วิธีหมอบนิ่ง ๆ แต่ “อารยะขัดขืน” ด้วยการกดก้นตัวเองให้ติดกับพื้นกรง แค่นี้พระเอกของเรา ถึงจะขึ้นคร่อมได้ก็หมดปัญญา ได้แต่ทำท่ากระดื๊บ ๆ ส่ง ๆ ไปอย่างนั้นเอง ประมาณว่า เล็งได้ แต่ลั่นไกไม่สำเร็จ แบบนี้ก็ต้องแยกนางเอกออกมารอจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมกว่า ต่อไป
           หากการผสมสำเร็จ คือพระเอกส่งน้ำเชื้อ (Sperm) เข้าไปในตัวเมียได้ น้ำเชื้อนั้นจะคงสภาพพร้อมใช้งานอยู่ในระบบสืบพันธุ์ของตัวเมียได้นานพอควร ระหว่างนั้น กลิ่นของตัวผู้หรือ Pheromone ระหว่างการผสม และการที่ถูกกระตุ้นจากการถูกขึ้นทับ จะทำให้ว่าที่คุณแม่กระต่ายปล่อยไข่ออกจากรังไข่เข้าสูระบบสืบพันธุ์ และไปพบกับยอดชายนาย Sperm จำนวนมหาศาลที่รอคอยอยู่ด้วยความกระวนกระวาย การปฏิสนธิ (Fertilization) ก็จะเกิดตอนนี้เอง ส่วนจะได้ลูกกี่ตัว ก็ขึ้นกับจำนวนไข่ที่คุณเธอจะปล่อยออกมานั่นเอง
          เห็นไหมครับว่ากระต่ายนี่ ต่างกับสัตว์อื่นมาก เพราะสัตว์อื่นๆ นั้น ตัวเมียจะตกไข่ออกมาก่อน พอไข่สุกพร้อมผสม ตัวเมียจึงจะเกิดอาการอาการเป็นสัด แต่ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมก็ต้องขับทิ้งออกมาพร้อมกับเยื่อบุมดลูกเป็นประจำเดือนอะไรแบบนั้น แต่น้องกระต่ายของเรานี่ ต้องรอให้มีการทับก่อน แล้วจึงจะปล่อยไข่ออกมาทีหลัง

วิธีที่จะดูว่า สาวกระต่ายของเรา จะพร้อมรับการผสมหรือยัง

           คืออย่างนี้ครับ ในช่วงที่ผมเล่าว่าคุณเธอมีความต้องการ (ทางเพศ) ช่วงละ 14-16 วันนั้น ก็มีบางช่วงที่น้องกระต่ายต้องการปานกลาง ต้องการมากและต้องการสูงซึ่งไม่ว่าจะเป็นช่วงใด ถ้าผสมได้ก็มีโอกาสท้องทั้งนั้นแหละ แต่ถ้าเลือกช่วงที่เจ้าหล่อน Heat จัด ๆ อะไร ๆ ก็จะง่ายกว่ากันมาก
          ในช่วงที่มีความต้องการ “สูง” ซึ่งสาวกระต่ายจะยอมรับการผสมจะดีกว่าช่วงอื่น ๆ นั้น คุณเธอจะแสดงอาการหงุดหงิด ตะกุยกรง วิ่งพล่านไปมา ถ้าปล่อยรวมกันหลาย ๆ ตัว คุณเธอก็จะขึ้นขี่หลังเพื่อน ๆ ทำท่า ปั่มปั๊มชาวบ้าน ราวกับว่าหล่อนเป็นตัวผู้เสียเอง
และเพื่อให้มั่นใจ เราก็ควรแอบดูน้องจิ๋มของแม่สาวกระต่ายของเราด้วย
           ในช่วงที่กระต่ายตัวเมีย ไม่ค่อยมีอารมณ์ หรือช่วงเว้นวรรคนั่น น้องจิ๋มของเธอจะออกสีขาวหรือชมพูจาง ๆ ต่างกับช่วงที่เธอ Heat มาก ๆ น้องจิ๋มจะมีสีแดงเข้ม ยิ่งเป็นช่วงที่ Heat จัด ๆ จะมีสีม่วงแดงประมาณเนื้อในของเปลือกมังคุดและมีอาการฉ่ำเยิ้มค่อนข้างชัดเจน

การดูสีจุ๋มจิ๋มของน้องต่าย สำหรับมือใหม่
         
          นั่งบนพื้นเหยียดขาแบบสบาย ๆ หุบขา(ของเรา) ให้ชิดกัน ชันเข่าขึ้นเล็กน้อย มือซ้ายรวบหนังบนหลังช่วงใต้บ่าของน้องกระต่าย ยกขึ้นช้า ๆ แล้วพลิกหันด้านท้องเข้าหาตัวเรา มือขวาประคองสะโพกด้านหลัง ค่อย ๆ วางให้น้องต่ายนอนหงายบนหน้าขาเรา โดยไม่ปล่อยมือซ้าย จากนั้น ละมือขวามาเปิดดูน้องจิ๋ม โดยวางนิ้วหัวแม่มือตรงช่องทวารหนัก วางนิ้วชี้ห่างจากนิ้วโป้งประมาณ2-3 ซ.ม. แล้วดันขึ้นไป ไม่ต้องออกแรงมาก ก็จะเห็นน้องจิ๋มชัดเลย ถ้าไม่เจอแสดงว่าคุณวางนิ้วผิดตำแหน่ง ให้ลองใหม่ (นิ้วโป้งกับนิ้วชี้อาจสลับตำแหน่งกันได้แล้วแต่ความถนัดครับ)
          ถ้าน้องต่ายดิ้น อย่าตกใจ มือซ้ายกำหนังหลังคอไว้ให้มั่น แล้วยกขึ้นแนบอก ใช้มือขวาประคองสะโพกพร้อมกับตบเบา ๆ แบบว่า โอ๋เขานะครับ พอเขาสงบก็เริ่มใหม่ แต่ถ้ายังดิ้นพราด ๆ ทั้งถีบทั้งตะกาย...ก็ต้องปล่อยอย่าฝืน ไม่อย่างนั้นเขาจะเครียด ทิ้งช่วงสักพักค่อยว่ากันใหม่
          ที่เล่ามามานี่ เล่าให้คนที่ไม่ค่อยคุ้นกับกระต่ายฟังนะครับคนที่ “เชี่ยวชาญ” ฟังแล้วอาจจะขำ เพราะถ้าทำบ่อย ๆ แค่อุ้มขึ้นมาแล้วพลิกหงาย โอบกระต่ายแนบอกโดยให้ด้านข้างตัวของกระต่ายชิดกับอกของเรา แขนของเรากดแนบกับลำตัวอีกข้างหนึ่ง อีกมือเอานิ้วแหวกปุ๊บก็เห็นปั๊บ ใช้เวลาไม่เกิน 5 วินาที กระต่ายยังไม่ทันรู้ตัวว่าเราจะทำอะไรเลย เราก็ดูเสร็จแล้ว


 

"วิธีการอุ้มและดูจุ๋มจิ๋มของน้องกระต่าย 

 

Heat ปานกลางถึง Heat มาก 


ขอขอบคุณข้อมูลเพื่อความรู้ : http://www.bunnydelight.com/index.php?mo=3&art=224689



  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 comments:

Post a Comment

My Blog List

Labels

กระต่าย - กระต่ายท้องอืด กระต่าย - จะผสมกระต่ายเมื่ออายุเท่าไหร่ กระต่าย-ดูแลกระต่ายท้อง กระต่าย-สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ กระต่าย-สายพันธุ์พันธุ์อเมริกัน ฟัซซี่ ลอป กระต่าย-สายพันธุ์พันธุ์ฮอลแลนด์ ลอป การดูเพศกระต่าย ชูการ์ ไกลเดอร์ (sugar glider) ชูการ์ ไกลเดอร์ (sugar glider) - สายพัพธุ์ ชูการ์ไกลเดอร์ พันธุ์กระต่าย แมว - 4 สายพันธุ์แมวไทยที่เหลืออยู่ แมว - โรคช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว หรือเรียกสั้นๆ FIP แมว-โรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมว แมว-โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา แมว-โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ แมว-โรคเอดส์แมว รวมโรคน้องกระต่าย หนูแก๊สบี้-พืชที่เป็นอันตรายกับหนูแก๊สบี้ หนูแก๊สบี้-โรคคอเอียง หนูแก๊สบี้-สายพันธุ์หนูแก๊สบี้