กระต่าย-ดูแลกระต่ายท้อง


 

ดูแลกระต่ายท้อง 


กระต่ายจะตั้งท้อง 30 วัน เพื่อป้องกันการผิดพลาด จึงควรจดวันที่เราผสมให้ชัดเจน ติดไว้ที่หน้ากรงได้ยิ่งดี ถ้าเป็นท้องสาว(ท้องครั้งแรก) ในช่วง 5- 7 วันหลังการผสม นางเอกของเราอาจมีอาการแปลก ๆ เช่นเบื่ออาหาร อาจมีท่าซึม ๆ เพราะสับสนกับการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของตัวเองแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน อาการเหล่านี้ไม่น่าเป็นอยู่นานนักคือแค่3-5 วัน (เรียกช่วงนี้ว่า ช่วงแพ้ท้อง) แต่บางตัวก็เฉยๆ ดูไม่ออก
           หลังจากสัปดาห์แรกผ่านไป กระต่ายที่ผสมติดส่วนใหญ่จะกินอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมาก บางตัวกินอาหารเม็ดลดลงหันมากินหญ้า บางตัวเขมือบอาหารเม็ดรวดเดียวหมด บางตัวกินทุกอย่างที่ขวางหน้า ช่วงนี้ แม่กระต่ายน้อยต้องการสารอาหารมากกว่าปกติเพราะต้องเอาไปสร้างร่างกายให้กับชีวิตน้อย ๆ ในท้อง ซึ่งอาจจะเป็น 1-4 ตัว สำหรับ ND และ HL และมากกว่านั้นถ้าเป็นสายพันธุ์ที่ใหญ่กว่า กระต่ายบ้านพันธุ์ไทยที่ผมเคยเลี้ยงตอนเด็ก ครอกหนึ่ง สิบกว่าตัวก็เคยเจอ
          หลังจากผสมกับพระเอกแล้ว ควรแยก ว่าที่คุณแม่ ออกมาอยู่ในที่เฉพาะตัว อย่าเอาพระเอกมาป้วนเปี้ยน เพราะกลิ่นของตัวผู้อาจทำให้ว่าที่คุณแม่เครียดได้
          ปกติ กระต่ายจะมีช่วงเวลาอุ้มท้อง 30 วัน ถ้าการผสมสำเร็จด้วยดี ลูกกระต่ายในท้องจะค่อยๆ เจริญเติบโต ใน 15 วันแรก จะเติบโตช้าและจะโตเอา...โตเอา ใน 15 วันหลัง ระยะการตั้งท้องอาจนานกว่า 30 วัน คือถ้าลูกในท้องหลายตัว ระยะการอุ้มท้องจะสั้น ถ้าลูกน้อยตัว การอุ้มท้องก็จะนานขึ้น อาจเป็น 32-34 วัน
          ราว ๆ วันที่20 เป็นต้นไป ท้องจะกางจนเห็นได้ชัด (แต่ถ้าแม่สาวน้อยอ้วนมากจะสังเกตยาก) ท่านอนที่เคยนอนเหยียดขาพุงแปะพื้นในท่าคว่ำ ก็จะเปลี่ยนเป็น ตะแคงน้อย ๆ และเท่าที่ผมแอบอุ้มกระต่ายท้องแก่ดู จะรู้สึกว่า “ลูกดิ้น” ในวันที่ 25 หรือประมาณนั้น (สำหรับคนที่ไม่คุ้นกับกระต่าย ช่วงท้องแก่อย่าไปยุ่งกับเขาจะดีที่สุด)
          ในวันที่ 27-28 หลังการผสม ให้เอารังคลอดใส่ให้แม่กระต่ายได้ ถ้าเอารังคลอดใส่ก่อนหน้านี้ แม่กระต่ายจะนึกว่าเป็นส้วม อาจเข้าไปอึไปฉี่และไม่ยอมคลอดในรังนั้น ถ้าใส่ช้าเกินไป จนแม่กระต่ายต้องคลอดบนพื้นกรง ลูกมักจะไม่รอด
 ขอขอบคุณข้อมูลเพื่อความรู้ : http://www.bunnydelight.com/index.php?mo=3&art=224689

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 comments:

Post a Comment

My Blog List

Labels

กระต่าย - กระต่ายท้องอืด กระต่าย - จะผสมกระต่ายเมื่ออายุเท่าไหร่ กระต่าย-ดูแลกระต่ายท้อง กระต่าย-สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ ดวอฟ กระต่าย-สายพันธุ์พันธุ์อเมริกัน ฟัซซี่ ลอป กระต่าย-สายพันธุ์พันธุ์ฮอลแลนด์ ลอป การดูเพศกระต่าย ชูการ์ ไกลเดอร์ (sugar glider) ชูการ์ ไกลเดอร์ (sugar glider) - สายพัพธุ์ ชูการ์ไกลเดอร์ พันธุ์กระต่าย แมว - 4 สายพันธุ์แมวไทยที่เหลืออยู่ แมว - โรคช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว หรือเรียกสั้นๆ FIP แมว-โรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมว แมว-โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา แมว-โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ แมว-โรคเอดส์แมว รวมโรคน้องกระต่าย หนูแก๊สบี้-พืชที่เป็นอันตรายกับหนูแก๊สบี้ หนูแก๊สบี้-โรคคอเอียง หนูแก๊สบี้-สายพันธุ์หนูแก๊สบี้